กระเบื้องระเบิด เกิดจากสาเหตุใด วิธีแก้กระเบื้องระเบิด กระเบื้องโก่งตัวทำอย่างไร
กระเบื้องระเบิด เกิดจากสาเหตุใด มีวิธีการแก้ไขยังไง ป้องกันยังไงให้ตรงจุดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้ขึ้นอีก กระเบื้องระเบิดหลังจากติดตั้งไปแล้วทำให้คนรักบ้านใจสลายเลยทีเดียว ก่อนอื่นเลย ควรทำความเข้าใจว่ากระเบื้องระเบิด มีลักษณะแบบไหน กระเบื้องระเบิด เกิดจากการโก่งตัวของกระเบื้อง กระเบื้องดันตัวจนแอ่นตัวขึ้นมาจากพื้นส่งผลทำให้กระเบื้องแตกและหลุดร่อน ปัญหานี้ต้องรีบแก้ไขซ่อมแซมโดยเร็ว รวมถึงป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำอีก
กระเบื้องระเบิด เกิดจากสาเหตุใด
กระเบื้องระเบิด เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น การติดตั้งกระเบื้องที่ไม่ได้มาตรฐาน การเว้นระยะห่างของกระเบื้องไม่เหมาะสม การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ รวมถึงความผิดปกติของโครงสร้าง ทีนี้ เรามาเจาะลึกกันในแต่ละประเด็น
1.โครงสร้างผิดปกติ
เริ่มต้นที่ความผิดปกติของโครงสร้าง เช่น โครงสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือเวลาผ่านไปทำให้โครงสร้างทรุด ส่งผลทำให้กระเบื้องแอ่นตัว หรือโก่งตัวขึ้นมาจากพื้น แตก หลุดร่อนออกเป็นชิ้น สิ่งที่เจ้าของบ้านควรทำเป็นอันดับแรกไม่ใช่การซ่อมแซม หรือเปลี่ยนกระเบื้องใหม่แต่ต้องแจ้งผู้เชี่ยวชาญ วิศวกรโครงสร้างให้เข้ามาตรวจสอบ
2.การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
ไม่ว่าอุณหภูมิจะต่ำหรือสูง ร้อนหรือเย็นล้วนส่งผลต่อกระเบื้อง ทำให้กระเบื้องเกิดการหดตัวหรือขยายตัว เมื่ออุณหภูมิต่ำกระเบื้องจะหดตัวแต่ถ้าอุณหภูมิสูงตรงกันข้ามกระเบื้องจะขยายตัว ในขั้นตอนการติดตั้งถ้าช่างปูกระเบื้องชิดกันมากไปจะทำให้กระเบื้องโก่งหรือแอ่น และระเบิดได้ในที่สุด
3.การเว้นระยะห่างที่ไม่เหมาะสม
การติดตั้งกระเบื้องควรเว้นระยะห่างที่เหมาะสม ถ้าเว้นระยะห่างน้อยเกินไปหรือปูชิดกัน ไม่ได้เว้นระยะห่างเผื่อไว้สำหรับร่องยาแนว สิ่งที่ตามมาคือกระเบื้องมีโอกาสโก่งตัวหรือระเบิดได้สูง สำหรับการปูกระเบื้องโดยทั่วไปควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 3 มิลลิเมตร
4.การปูกระเบื้องที่ไม่ได้มาตรฐาน
หากปูกระเบื้องไม่ได้มาตรฐานมีโอกาสที่กระเบื้องจะโก่งหรือระเบิดได้ เช่น ปูแบบซาลาเปา แปะปูนลงบนแผ่นกระเบื้องเป็นก้อน จากนั้นปูลงไปบนพื้นทันที แม้จะรวดเร็วแต่เกิดช่องว่างหลังแผ่นกระเบื้องได้จนมีการสะสมของความชื้นทำให้กระเบื้องแอ่นตัวหรือระเบิดในเวลาต่อมา
วิธีแก้กระเบื้องระเบิด
- รื้อกระเบื้องเดิมออกมา เลาะแผ่นกระเบื้องเดิมจากนั้นสกัดปูนกาวที่พื้นใต้แผ่นกระเบื้องออกด้วย ปัดเศษฝุ่นให้สะอาดก่อนปูแผ่นใหม่
- ปูพื้นกระเบื้องใหม่ให้ได้มาตรฐานจ้างช่างที่มีประสบการณ์ ใช้ปูนกาวแทนปูนซีเมนต์เพราะมีประสิทธิภาพการยึดเกาะที่ดีกว่าหมดกังวลเรื่องพื้นระเบิด
- เช็คโครงสร้างเบื้องต้นด้วยการสำรวจว่ามีจุดไหนเกิดรอยร้าว มีหลุมบ่อหรือไม่ รีบซ่อมแซมโดยเร็ว รวมถึงการตรวจสอบโครงสร้างหลักทำโดยผู้เชี่ยวชาญหรือวิศวกรมืออาชีพ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีกในอนาคต
การป้องกันกระเบื้องระเบิด
- ไม่ปูกระเบื้องชิดกันมากไป เว้นระยะห่างของร่องยาแนวให้เหมาะสม
- ใช้ปูนกาวแทนปูนซีเมนต์ เนื่องจากปูนซีเมนต์ไม่มีประสิทธิภาพในการยึดเกาะมากพอ
- ไม่ใช้วิธีการปูนกระเบื้องแบบซาลาเปาหรือแบบขี้หนู ทาปูนกาวให้เต็มแผ่น
เมื่อรู้สาเหตุที่ทำให้กระเบื้องโก่งหรือระเบิดแล้ว รวมถึงแนวทางการแก้ไข การป้องกัน หลายคนคงได้แนวทางดีๆ กลับไป ปัญหากระเบื้องระเบิด ไม่ใช่เรื่องใหญ่โตหรือน่ากลัวอย่างที่คิด ถ้าเรารู้และป้องกันได้ถูกวิธี สิ่งสำคัญคือการเลือกกระเบื้องที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน และการปูกระเบื้องที่ได้มาตรฐานด้วย จ้างช่างที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์เท่านั้น